5 ธันวาคม 2558

5 ธันวาคม 2558

คู่มือสำหรับประชาชน

การขอเลขที่บ้านใหม่

         บ้านปลูกสร้างใหม่หรือปลูกสร้างมานานแล้ว แต่ยังไม่มีบ้านเลขที่ให้เจ้าบ้านแจ้งขอมีบ้านเลขที่ต่อนายทะเบียน
หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. ใบอนุญาตก่อสร้าง กรณีปลูกสร้างใหม่
        2. บัตรประจำตัวประชาชน
        3. สำเนาทะเบียนบ้าน
        4. โฉนดที่ดิน
        5. แบบบ้าน 1 ชุด


การแจ้งเกิด

         เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เกิด
หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน บิดามารดา หรือผู้แจ้ง
        2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
        3. หนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาล
การแจ้งเกิดเกินกำหนด
        1. หนังสือรับรองการเกิด (ถ้าเกิดในสถานพยาบาล) 
        2. พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ เป็นผู้มีอาชีพมั่นคง เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบธุรกิจ
            หรือรับจ้างซึ่งมีหลักฐานแสดงภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง
        3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ถ่ายเอกสารพร้อมฉบับจริงของผู้แจ้ง บิดามารดา พยานบุคคล
        4. บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้แจ้ง
            บิดามารดา พยานบุคคล
        5. อื่น ๆ เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ใบสำคัญการตั้งชื่อ สกุล ใบสำคัญการใช้สกุลร่วม ใบสำคัญการสมรส ใบ-
            สำคัญการหย่า หนังสือเดินทาง
        6. รูปถ่ายบุคคลที่เกิดเกินกำหนด 2 รูป (กรณีที่มีอายุไม่เกิน 7 ขวบ) และ 3 รูป (กรณีอายุเกิน 7 ขวบ ซึ่งถ่ายไว้
            ไม่เกิน 6 เดือน)


 การแจ้งตาย

         เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ
        เมื่อมีคนตายนอกบ้าน ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งเหตุแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง  นับแต่เวลาตายหรือพบศพ ในกรณีนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจก็ได้
หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
        2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย
        3. หนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาล หรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา
        หมายถึง กรณีมีคนตายแล้วไม่ได้มาแจ้งการตายภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีนี้ให้ผู้แจ้งการตายยื่นคำร้อง
ต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ โดยดำเนินการ ดังนี้
        1. เมื่อนายทะเบียน ได้รับคำร้องแล้วจะตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดงแล้วดำเนินการ เปรียบเทียบคดีความผิดตามที่กฎหมายกำหนด
        2. สอบสวน สาเหตุจากพยานบุคคล  เพื่อให้ทราบถึง วันเดือนปีที่ตาย สถานที่ตาย และผู้รู้เห็นเหตุการณ์ตาย 
            ตลอดจนสาเหตุที่ไม่แจ้งการตาย ภายในเวลาที่กำหนด
        3. รวบรวมหลักฐานและพิจารณาเมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จะสั่งอนุญาตให้รับแจ้งได้


 การแจ้งย้ายที่อยู่

1. การย้ายออก
        เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายออกจากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออกไป โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
    หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
        2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
        3. กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการแจ้งย้ายออกได้ ให้นำหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน และบัตรประจำตัว-
           ประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านมาด้วย
2. การย้ายเข้า
        เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่
ผู้นั้นย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน ทั้งนี้ให้นำหลักฐานการย้ายออกไปแสดงต่อนายทะเบียน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
    หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
        2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
        3. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ทั้ง 2 ตอน และเจ้าบ้านลงนามในช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าและผู้แจ้งย้ายเข้า
        4. กรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการได้ให้นำหนังมอบหมายจากเจ้าบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของ
           ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านมาด้วย
        5. กรณีที่บ้านว่างยังไม่มีเจ้าบ้าน ให้นำหลักฐานหนังสือสัญญาซื้อขายที่สำนักงานที่ดินออกให้
3. การแจ้งย้ายปลายทาง
    หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบ้านที่จะย้ายเข้า
        2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่ย้ายเข้า
        3. สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ย้ายออก (ถ่ายเอกสาร)
        4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้ายเข้า
        5. เจ้าบ้านหรือผู้แจ้งย้ายเข้ายื่นคำร้องด้วยตนเอง
        6. กรณีเจ้าบ้านหรือผู้แจ้งย้ายเข้ามาไม่ได้ ให้ทำหนังสือมอบหมายกันได้ระหว่างเจ้าบ้านกับผู้แจ้งย้าย


 แก้ไขทะเบียนราษฎร์

         การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร เช่น ทะเบียนบ้าน สูติบัตร หรือมรณบัตร ให้ยื่น
คำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียนท้องถิ่นหรือนายทะเบียนอำเภอแห่งท้องที่ที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
        2. บัตรประจำตัวผู้ขอแก้ไขรายการ
        3. เอกสารที่ขอแก้ไขรายการ
        4. หลักฐานที่ใช้ประกอบการแก้ไขรายการ


เพิ่มรายชื่อเข้าทะเบียนราษฎร์

  - การเพิ่มชื่อตามหลักฐาน สูติบัตร ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ที่ออกสูติบัตร
  - การเพิ่มชื่อตามหลักฐาน ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
  - การเพิ่มชื่อตามหลักฐาน ทะเบียนบ้าน ให้ยื่นคำร้องแห่งท้องที่ที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย
หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
        2. บัตรประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อเจ้าบ้าน พยานบุคคล
        3. หลักฐานที่ใช้ประกอบการขอเพิ่มชื่อ เช่น สูติบัตร, ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และทะเบียนบ้าน เป็นต้น
        (ทั้งนี้ รายละเอียดแต่ละกรณีเป็นไปตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 ข้อ 93 - 108)


จำหน่ายรายชื่อออกจากทะเบียนราษฎร์

          การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน กรณีที่บุคคลมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน เกินกว่าหนึ่งแห่ง
หลักฐานที่นำไปแสดง
        1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
        2. บัตรประจำตัวผู้ขอจำหน่ายชื่อ
        3. หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อซ้ำ
อัตราค่าธรรมเนียม
        - การขอคัดและรับรองสำเนารายการในทะเบียนบ้าน ฉบับละ 10 บาท
        - การขอคัดและรับรองสำเนารายการข้อมูลทะเบียนประวัติ ฉบับละ 20 บาท
        - การขอแจ้งย้ายปลายทาง ฉบับละ 10 บาท
        - การขอรับสำเนาทะเบียนบ้านฉบับใหม่เนื่องจากชำรุดหรือสูญหาย ฉบับละ 10 บาท
        นอกเหนือจากงานทะเบียนราษฎรแล้ว ท่านสามารถติดต่อในเรื่องต่อไปนี้ได้ คือ
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำหน้าที่
        - รักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ
        - การป้องกันและระงับอัคคีภัย
        - การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอื่น ๆ 
        - งานวิเคราะห์และพิจารณาทำความเห็น สรุปรายงานเกี่ยวกับการป้องกัน และระงับอัคคีภัยและสาธารณภัยอื่นๆ
        - งานตรวจสอบ ควบคุม ดูแล จัดเตรียมและอำนวยความสะดวกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
        - งานจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
        - งานฝึกซ้อมและดำเนินการตามแผนป้องกัน
        - งานฝึกอบรมอาสาสมัครฯ และวิทยุสื่อสาร
งานรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง ทำหน้าที่
        - งานตรวจสอบและจัดระเบียบในตลาดสด หาบเร่แผงลอย  รวมทั้งกิจการร้านค้าที่น่ารังเกียจและอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
        - งานควบคุม ตรวจสอบ และดำเนินการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ, ข้อบังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
        - งานศึกษาและวิเคราะห์ข่าวเพื่อเสนอแนะวางแผนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ
        - งานประสานกับจังหวัด อำเภอ ในการรักษาความสงบเรียบร้อย
        - งานมวลชนต่าง ๆ


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

        ภาษี โรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
ขั้นตอนการยื่นแบบและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
        1.1 ผู้รับการประเมิน (เจ้าของทรัพย์สิน) จะต้องยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
        1.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแบบพิมพ์ ภ.ร.ด.2 จากผู้รับประเมินแล้ว จะตรวจสอบความถูกต้องและประเมินค่าภาษีโรงเรือนฯ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแบบพิมพ์ ภ.ร.ด.2
        1.3 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว เห็นว่ามีความจำเป็นให้ผู้รับประเมินแสดงรายการเพิ่มเติมละเอียดยิ่งขึ้น  หรือเรียกให้นำพยานหลักฐานมาสนับสนุนข้อความในรายการนั้น  ผู้รับประเมินต้องรีบดำเนินการ ภายใน 10 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
2. การชำระเงินค่าภาษี
        เมื่อผู้รับประเมิน (เจ้าของทรัพย์สิน) ได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี (ภ.ร.ด.8) จะต้องชำระค่าภาษี ณ งานผลประโยชน์  กองคลัง ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
3. การอุทธรณ์ภาษี
        กรณีที่ผู้รับประเมินไม่พอใจในการ ประเมินค่าภาษีให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) หากผู้รับประเมินไม่ยื่นคำร้อง (ภ.ร.ด.9) ภายในกำหนดจำหมดสิทธิ์ที่จะให้ พิจารณาการประเมินใหม่
4. อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน 
        ผู้รับประเมินจะต้องเสียค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
5. การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
        5.1 ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในกำหนด ผู้นั้นจะมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาทและ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี
        5.2 กรณียื่นแบบไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน5 ปี
        5.3 กรณีที่ผู้ประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม ดังนี้
1) ถ้าค้างชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
2) ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
3 ) ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
4 ) ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง


ภาษีป้าย

        ป้าย หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น ๆเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
1. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
        การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้าย จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือที่เปลี่ยนแปลงข้อความของป้ายใหม่
2. การชำระเงินค่าภาษี
        2.1 ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายต้องชำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
        2.2 กรณีที่เจ้าของป้ายยื่นแบบ (ภ.ป.1) แสดงรายการไว้ถูกต้องครบถ้วนและพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วถูกต้อง จะแจ้งการประเมินและชำระภาษีในวันที่ยื่นแบบฯ ได้
3. อัตราค่าภาษีป้าย
        ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซ็นติเมตร
        ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตาราง    เซ็นติเมตร 
        ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่ามีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตรเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียค่าภาษีป้ายละ 200 บาท
4. การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
        - ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
        - ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
        - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ


ภาษีบำรุงท้องที่

            ที่ดิน ที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ คือ ที่ดินทุกประเภทไม่ว่าจะมีเอกสารสิทธิ์ หรือไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นที่ว่างเปล่าหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่หรือไม่ และไม่ว่าจะใช้เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรืออยู่อาศัย ให้ผู้อื่นเช่า หรือใช้ประโยชน์เองก็ตามที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่นั้น นอกจาก พื้นที่ที่ดินทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังหมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาและแม่น้ำด้วย
ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่
1. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
        ให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี(ภ.บ.ท.5) ณ งานผลประโยชน์กองคลังเทศบาลตำบลรางหวายทุกรอบระยะเวลา 4 ปี
        กรณี บุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงให้เจ้าของที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือจำนวนเนื้อที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลง
2. การชำระเงินค่าภาษี
        ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
3. การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
        กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี
        กรณี ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินค่าภาษี
หลักฐานที่ต้องนำไปชำระภาษีท้องถิ่น
        1. หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เช่น

             - โฉนดที่ดิน น.ส.3, น.ส.2, ส.ค.1 หรืออื่น ๆ (กรณีเสียภาษีบำรุงท้องที่)
             - ใบอนุญาตปลูกสร้าง, สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการซื้อขายหรือจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ (ถ้ามี) หรือหลักฐานอื่น ๆ แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง (กรณีเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน)
             - ภาพถ่าย หรือรูปแบบขนาดความกว้าง ยาว และลักษณะข้อความของป้าย (กรณีเสียภาษีป้าย)
        2. ใบเสร็จรับเงินครั้งสุดท้ายที่เคยชำระภาษีฯ ไว้     
        3. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ
        4. หนังสือแจ้งจากสำนักงานเทศบาลตำบลรางหวาย
        5. การชำระภาษีอาจชำระโดย
              - เงินสด ชำระที่กองคลัง เทศบาลตำบลรางหวาย (งานผลประโยชน์)
              - ตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือเช็คที่ธนาคารรับรองโดยการสั่งจ่ายในนาม “เทศบาลตำบลรางหวาย”
              - ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ หรือธนาณัติ โดยสั่งจ่ายในนาม “ผู้อำนวยการกองคลัง” เทศบาลตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
* ชำระภาษีตรงเวลา ช่วยพัฒนาท้องถิ่น โปรดเรียกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง เมื่อชำระภาษีหรือค่าธรรมเนียม  ติดต่อสอบถาม โทร. 034-682753 กด 105 


ขออนุญาตขุด-ถมที่ดิน

        ผู้ที่ประสงค์จะทำการขุดดิน ที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตร.ม เมตร ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
ผู้ขออนุญาตขุดดินต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้
        1. แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
        2. แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
        3. วิธีการขุดดินและการขนดิน
        4. ระยะเวลาทำการขุดดิน
        5. ชื่อผู้ควบคุมงาน
        6. ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
        7. เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้างใน
           การขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548
        ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ อยู่ ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
        การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินเกินสองพันตารางเมตร นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำ จะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
บทกำหนดโทษ
        - ผู้ใดทำการขุดดินหรือทำการถมดินโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค่าธรรมเนียม
        - ค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ฉบับละ 500 บาท
* ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน ต่อเติม หรือเคลื่อนย้ายอาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาลตำบล
รางหวาย โปรดติดต่อขออนุญาตที่กองช่าง เทศบาลตำบลรางหวาย หรือสอบถาม โทร. 034-682753 กด 106


ขออนุญาตประกอบการ

         ผู้ ประกอบกิจการค้าภายในเขตเทศบาลตำบลรางหวายจะต้องยื่นขออนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ตลาดเอกชน
ขั้นตอนการยื่นคำขอรับใบอนุญาต
กรณีรายใหม่
        1. ยื่นคำขอรับใบอนุญาต พร้อมหลักฐานดังนี้
        2. เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว จะตรวจสอบความถูกต้อง และออกตรวจสอบสถานประกอบการ แล้วดำเนินการออกใบอนุญาต หลังจากนั้นจะมีหนังสือแจ้งให้มารับหรือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
        3. ผู้ขอรับใบอนุญาต มารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
กรณีการต่อใบอนุญาต
        การยื่นคำขอต่อใบอนุญาต ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับการขอรับใบอนุญาตรายใหม่ และนำใบอนุญาตเดิมมาพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมในวันที่มายื่นคำขอต่อ โดยให้ยื่นภายในกำหนด 30 วัน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมให้บริการ
        1. ให้บริการดูดโคลนเลน ลอกท่อ (ท่อระบายน้ำอุดตัน, น้ำท่วมขัง)
        2. ให้บริการรถดูดสิ่งปฏิกูล
        3. รับแจ้งเหตุเดือดร้อนรำคาญ ขยะตกค้าง
        4. ขอถังขยะตั้งในสถานที่สาธารณะ
        5. พ่นสารเคมีกำจัดยุง (หมอกควัน) และแจกสารเคมีกำจัดลูกน้ำ
        6. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ยาคุมกำเนิดสัตว์เลี้ย


เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

คุณสมบัติผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (คนละ 300 บาท/เดือน)
        1. ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
        2. ต้องมีฐานะครอบครัวยากจน หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
        3. ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหารเทศบาล
        4. อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน โดยรายได้เฉลี่ยต่อคนต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อปี
        5. ต้องอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย จริง
        6. มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย จริง
หลักฐานการรับความช่วยเหลือ
        1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
        2. สำเนาทะเบียนบ้าน


เบี้ยยังชีพผู้พิการ

คุณสมบัติผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (คนละ 500 บาท/เดือน)
        1. เป็นผู้ที่มีฐานะยากจนอาศัยอยู่ตามลำพัง หรืออยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน โดยรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า20,000 บาท ต่อปี
        2. ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหารเทศบาล
        3. มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย จริง
        4. ต้องอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย จริง
        5. เป็นผู้พิการที่ได้รับการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ปี 2534
        6. มีความพิการมาก ช่วยเหลือตนเองได้น้อย ดำรงชีวิตด้วยความลำบาก
หลักฐานการรับความช่วยเหลือ
        1. ใบรับรองการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และมีความพิการมาช่วยเหลือตนเองได้น้อย
        2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สูติบัตร
        3. สำเนาทะเบียนบ้าน
        4. สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ


เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

คุณสมบัติผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (คนละ 500 บาท/เดือน)
        1. ต้องเป็นผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ปรากฏอาการ และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน
        2. ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะดูแล ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
        3. มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย จริง
        4. ต้องอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย จริง
        5. ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหารเทศบาล
        6. มีฐานะยากจน โดยรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อปี
หลักฐานการรับความช่วยเหลือ
        1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
        2. สำเนาทะเบียนบ้าน
        3. ใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ปรากฏอาการ
* ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ, ผู้ป่วยเอดส์ ในชุมชนของท่านไม่ใช่ผู้ถูกทอดทิ้ง ติดต่อสำนักปลัด มีเบี้ย
ยังชีพให้ สอบถามรายละเอียดติดต่อ โทร.034-682753 กด 104


ขออนุญาตก่อสร้าง

1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
  - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  - แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
  - สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
  - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
2. การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน) 
  - หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
  - หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
  - หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว(กรณที่ีอยู่ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกรรม และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)
  - รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)
  - แบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับบ้านพักอาศัย (ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการหรืออื่น ๆ )
  - หนังสือแสดงว่าคณะกรรมการการควบคุมการจัดสรรที่ดินพิจารณาให้ความเห็นชอบ
  - แผนผังโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตแล้ว (กรณีอาคารเข้าข่ายการจัดสรรที่ดิน)
  - เตรียมแบบและใบอนุญาตเดิมที่ได้รับจากเทศบาลตำบลรางหวาย จำนวน 1 ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร, ต่อเติมหรือต่ออายุใบอนุญาต)
3. การพิจารณา
  - ในการตรวจพิจารณารายละเอียดแบบแปลน เทศบาลอาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังบริเวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับ    ที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  - อาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้งกองช่างทำการตรวจสอบ เพื่อขอใบรับรองการใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือให้ผู้อื่นใช้
  - การขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะต้องดำเนินการ
  - แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่กำหนด พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสาร
    1). ชื่อผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร (วุฒิสถาปนิก) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว
    2). ชื่อของผู้รับงานออกแบบและคำนวณอาคาร (วุฒิวิศวกร) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว
    3). ชื่อผู้ควบคุมงาน (ตามกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรม-วิศวกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว)
    4). แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบ รายการคำนวณ
    5). วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด การดำเนินการก่อสร้างอาคาร
4. ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป
- อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
- อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)
- ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
5. คำแนะนำในการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2528)
     5.1 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแนบเอกสารเกี่ยวกับแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด พร้อมกับคำขอ อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแนบรายการคำนวณ จำนวน 1 ชุด
     5.2 เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ (ถ้ามี) ถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตได้
     5.3 อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารยื่นคำขอใบรับรองต่อเจ้าพนักงานท้อง ถิ่น
     5.4 ในกรณีที่เจ้าของอาคาร ประสงค์จะใช้อาคารเพื่อกิจการประเภทควบคุมการใช้ จะเปลี่ยนการใช้อาคารให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารนั้น
     5.5 ในกรณีที่เจ้าของอาคารประสงค์จะดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถเพื่อการอื่นและก่อ สร้างที่จอดรถแทนของเดิมให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
     5.6 ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
     5.7 ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
     5.8 ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลอื่น  ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อเห็นเป็นการสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือแจ้งอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอโอนใบ อนุญาตได้
              5.9 แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่ายหรือเขียนด้วยหมึก และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
                 - มาตราส่วน ให้ใช้มาตราเมตริก
                 - แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราเมตริก
                 - แสดงขอบนอกของอาคารที่ขออนุญาตถึงขอบเขตของที่ดินทุกด้าน
                 - ระยะห่างระหว่างอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และอาคารที่ขออนุญาตในขอบเขตของ ที่ดิน
                 - ลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศ
                 - ให้แสดงทางระบายน้ำออกจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลและส่วนลาด
                 - แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับทาง หรือถนนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดและระดับพื้นดิน
                 - ให้แสดงแผนผังบริเวณที่จะทำการเคลื่อนย้ายอาคารไปอยู่ในที่ใหม่ให้ชัดเจน
                 - แบบแปลนให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 โดยต้องแสดงแปลนพื้นรูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดขวาง รูปตัดทางยาว ผังคานรับพื้นชั้นต่างๆ และผังฐานรากของอาคาร พร้อมด้วยรายละเอียด
                 - แบบแปลน ต้องมีรูปรายละเอียดอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะพิจารณาตามกฎหมาย
                 - แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่จะก่อสร้างให้ชัดเจน
                 - แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจน
                 - แบบแปลน สำหรับการรื้อถอนอาคาร ให้แสดงขั้นตอนวิธีการตลอดจนความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร
                 - แบบแปลน สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร  ให้แสดงขั้นตอน วิธีการ ความมั่นคงแข็งแรง  ตลอดจนความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายอาคาร
                 - สำหรับอาคารที่มีรูปตัดทางขวางหรือรูปตัดทางยาวของอาคาร มีความกว้าง ความยาว หรือความสูงเกิน 90 เมตร แบบแปลนจะใช้มาตรา  ส่วนเล็กกว่า 1 ใน 100 ก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 1 ใน 250
                 - แบบแปลนสำหรับการเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้แสดงส่วนที่ใช้อยู่เดิม และส่วนที่จะเปลี่ยนการใช้ใหม่ให้ชัดเจน
                 - รายการประกอบแบบแปลน ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับการก่อสร้างอาคาร
                 - รายการคำนวณให้แสดงวิธีการตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
              5.10 ผู้รับผิดชอบงานออกแบบหรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณ ต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจง ที่อยู่พร้อมกับคุณวุฒิของผู้รับผิดชอบดังกล่าวไว้ในแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณแต่ละชุดด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมให้ระบุเลขทะเบียนในใบ อนุญาตไว้ด้วย
6. ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
- ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
     1. อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12 เมตร ตร.ม. ละ 50 สตางค์
     2. อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 12 บาท
     3. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 4 บาท
     4. ป้าย ตร.ม. ละ 4 บาท
       สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลรางหวาย ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนต่อเติมหรือการเคลื่อน
ย้าย อาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาล โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จให้
ท่านยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้านได้ที่งานทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลรางหวาย
7. บทกำหนดโทษ
     7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล หรือผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน ใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
     7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
     7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้
         - ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร
         - เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
         - เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง

1 ความคิดเห็น: