5 ธันวาคม 2558

5 ธันวาคม 2558

คู่มือบริการประชาชน กองคลัง

คู่มือการบริการประชาชน ***กองคลัง***
            ของเทศบาลตำบลรางหวาย
      อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี


                                                   1.งานบริการการจัดเก็บภาษี

เทศบาลตำบลรางหวาย มีการจัดเก็บภาษีต่างๆ เช่น ภาษีบำรุงท้องถิ่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภาษีป้าย  ซึ่งภาษีแต่ละชนิดมีความหมายและวิธีการรวมถึงขั้นตอนการเสียภาษีดังต่อไปนี้
1.1. ภาษีบำรุุงท้องที่

1.1.1 กำหนดระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ตามพระราชบัญภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508  กำหนดให้เจ้าของที่ดิน  ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ
ที่ดินต่อพนักงานประเมิน ณ ที่สำนักงานเทศบาลตำบลรางหวาย  หรือหน่วยรับบริการเคลื่อนที่ตามกำหนด ภายในเดือนมกราคมของปี
* แบบแสดงรายการที่ได้ยื่นไว้นั้นใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลา 4 ปี มีการรับแจ้งยื่นแบบประเมินภาษีในรอบระยะเวลา 4 ปี จะต้องมี
การยื่นแบบครั้งแรกของปีแรก  หากไม่ยื่นภายในกำหนด  เจ้าที่ดินจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี
* กรณีบุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่  หรือจำนวนที่ดินเปลี่ยนแปลงไป  เจ้าของที่ดิต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่วันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ นับแต่วันที่จำนวนเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้นใหม่

1.1.2 อัตราโทษและค่าปรับ
* ผู้ใดละเลยการยื่นแบบแสดงรายการ  มีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 2 ปี
* ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์  มีความผิดต้องระวางโทษจำคุก  หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี
* กำหนดระยะเวลาการชำระภาษี  คือ เดือนมกราคม - เมษายนของทุกปี หากชำระภาษีเกินกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2
ของอัตราค่าภาษีที่จะต้องชำระ

1.1.3 เอกสารที่ใช้ประกอบในการเสียภาษี
    1. บัตรประจำตัวประชาชน
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. หลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน
    4. ใบเสร็จการเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)
    5. หนังสือมอบอำนาจ  กรณีให้ผู้อื่นมาทำการแทน

1.2. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  1.2.1 ความหมาย และกำหนดระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ  กับที่ดินที่ต่อเนื่องกับ
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น และในปีที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น  เช่น ให้เช่า  ใช้เป็นที่ทำการค้าขาย ที่ไว้สินค้าประกอบอุตสาหกรรมให้ญาติ  บิดา มารดา  บุตร  หรือผู้อื่นอยู่อาศัย  หรือประกอบกิจการอื่นๆ  เพื่อเป็นการหารายได้ (เชิงการค้า ,ทำรายได้) มีหน้าที่ยื่นแสดงแบบรายการ
ทรัพย์สิน ณ ทีีสำนักงานเทศบาลตำบลรางหวาย  ตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์  หากไม่ยื่นแบบภายในกำหนด  ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200
 1.2.2 เอกสารในการยื่นชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
    1. สำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
    2. สำเนาโฉนดที่ดิน - สัญญาซื้อขายโรงเรือน
    3. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีโรงเรือนปีที่ผ่านมา (ถ้ามี)
 1.2.3 อัตราโทษและค่าปรับ
    * ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน  เมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้ว  จะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจั้งการประเมิน
มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ดังนี้
    1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
    2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
    3. ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
    4. ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน  ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีค้าง
    * ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่  ไม่ให้ความร่วมมือการแจ้งรายละเอียดในเรื่องใบแจ้งรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
    * ผู้ใดแจ้งความเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง  เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  1.2.4 การอุทธรณ์การเมินภาษี
    เมื่อผู้เสียภาษีได้รับแจ้งการประเมินแล้ว  ไม่พอใจในการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่  ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ ได้โดยยื่นแบบ ภงด.9 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
และเมื่อได้รับแจ้งผลการชี้ขาดแล้วยังไม่เป็นที่พอใจก็มีสิทธินำเรื่องร้องต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาด

1.3. ภาษีป้าย
    ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของป้าย  ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงสิ้นเดือนมีนาคม  ณ ที่สำนักงานเทศบาลตำบลรางหวาย
    1.3.1 การกำหนดชำระภาษี นับจากได้รับแจ้งการประเมินภายใน 15 วัน
    * กรณีที่มีการประเมินภาษีป้าย  ตั้งแต่ 3,000 บาทเป็นต้นไปผู้เสียภาษีสามารถขอผ่อนชำระเป็นงวดๆเท่าๆ กันได้ แต่ต้องยื่นคำขอผ่านชำระก่อนครบกำหนดเวลาที่ต้องชำระภาษี
    * การชำระภาณีเกินกำหนดเวลา  หรือยื่นแบบเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม  ตามที่กฏหมายกำหนด
    * การประเมินภาษีป้าย  ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2535)
    1. ป้ายที่อักษรไทยล้วน คิด 3 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
    2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ  หรือ ปนกับภาพและ/ หรือเครื่องหมายอื่นใด  ให้คิด 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
    3. ป้ายดังต่อไปนี้ให้คิด 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
    - ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
    - ป้ายตามข้อ 1,2และ 3 เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว  ถ้ามีอัตราต้องเสียภาษีตำกว่า 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
 1.3.2 เอกสารประกอบในการยื่นชำระภาษีป้าย
    1. บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
    2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายปีที่ผ่านมา (ถ้ามี)


                                             2.งานบริการขออนุญาตจดทะเบียนพาณิชย์




  2.1ความเป็นมา
รมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ถ่ายโอนภารกิจงานจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์  พ.ศ. 2499 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2554 เป็นต้นไป โดยให้เทศบาลฯ รับจดทะเบียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และผู้ประกอบการสามารถนำหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์ไปใช้การทำธุรกรรมได้  ได้เปิดให้บริการแก่   ผู้ประกอบพาณิชยกิจ โดยสามารถมาจดทะเบียนพาณิชย์ได้   ณ เทศบาลฯ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  

2.2 ผู้มีหน้าที่จดทะเบียน

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือ นิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งประกอบกิจการค้าอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
2.3 กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
1.การทำโรงสีข้าวและการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร


2.การขายสินค้ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งเป็นเงิน ตั้งแต่  20 บาท ขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
3.การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้ามีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
4.การประกอบหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมและขายสินค้าที่ผลิตได้
5.การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขาย  ทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับ          แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม
6.การขาย การผลิตหรือให้เช่า แผนซีดี แถบบันทึก  วีดิทัศน์ แผ่นซีดิทัศน์ ดีวีดี หรือ แผนวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
7.ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
8.การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
9.การบริการอินเทอร์เน็ต
10.การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 
11.การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
12.การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
13.การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
14.การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
15.การให้บริการตู้เพลง
16.โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
2.4 เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์
จดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) เอกสารที่ใช้ ได้แก่
1)       คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
2)       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3)       สำเนาทะเบียนบ้าน
4)       กรณีผู้ประกอบการมิได้เป็นเจ้าบ้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
·         หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่
·         สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ประกอบพาณิชยกิจ
·         สำเนาสัญญาเช่า
·         สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่
·         สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสถานที่
5)       กรณีมอบอำนาจ ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
·         หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์             10 บาท
·         สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
6)       กรณีประกอบพาณิชยกิจ ขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผนวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ต้องมีสำเนาหนังสืออนุญาต หรือ หนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่า จากเจ้าของลิขสิทธิ์
กรณีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมี แบบฟอร์มเอกสารแนบท้าย แบบ ทพ.
      7) เทศบาลฯ ให้บริการปรับลดขั้นตอนเหลือ 4 ขั้นตอน 15 นาที/ราย


จดทะเบียนพาณิชย์ (เปลี่ยนแปลง) เอกสารที่ใช้ ได้แก่
1)       คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
2)       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3)       สำเนาทะเบียนบ้าน
4)       กรณีเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
·         หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่
·         สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ประกอบพาณิชยกิจ
·         สำเนาสัญญาเช่า
·         สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่
·         สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสถานที่
5)       กรณีมอบอำนาจ ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
·         หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์             10 บาท
·         สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

6)       ใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403)

      7) เทศบาลฯ ให้บริการปรับลดขั้นตอนเหลือ 4 ขั้นตอน 15 นาที/ราย

จดทะเบียนพาณิชย์ (เลิก) เอกสารที่ใช้ ได้แก่
1)       คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
2)       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3)       สำเนาทะเบียนบ้าน
4)       ใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403)
5)       กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจถึงแก่กรรม
·         สำเนาใบมรณบัตร
·         สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นทายาท
6)       กรณีมอบอำนาจ ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
·         หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์             10 บาท

·         สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

      7) เทศบาลฯ ให้บริการปรับลดขั้นตอนเหลือ 4 ขั้นตอน 13นาที/ราย


2.5 อัตราค่าธรรมเนียม

1.       ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนพาณิชย์                     เรียกเก็บ                 50 บาท

2.       ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงรายการ              เรียกเก็บ         ครั้งละ 20 บาท

3.       ค่าธรรมเนียมการเลิกประกอบพาณิชยกิจ           เรียกเก็บ                  20 บาท

4.       ค่าธรรมเนียมการขอให้ออกใบแทน                  เรียกเก็บ       ฉบับละ  30 บาท

5.       ค่าธรรมเนียมการขอตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่งเรียกเก็บครั้งละ 20 บาท

6.       ค่าธรรมเนียมการคัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ เรียกเก็บ ฉบับละ    
30 บาท
2.6 บทกำหนดโทษ
1.    ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน   30 วัน แสดงรายการเท็จ มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนพาณิชย์อันเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท
2.    ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย แต่ไม่ยื่นคำร้องขอใบแทน ภายใน 30 วัน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานให้เห็นได้ง่าย มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และในกรณีเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน  20 บาท
3.   ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์ แล้วยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ทั้งปรับทั้งจำ

                                       3.งานบริการขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง

การขออนุญาตใช้เสียง
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
การควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง หมายถึง การที่เราจะโฆษณาสินค้าหรือกิจการในร้านของเรา  โดยมีการประกาศเสียงตามรถประชาสัมพันธ์ หรือ โฆษณาอยู่ประจำที่ หรือ ร้านแห่งนั้นงานที่จะโฆษณาใช้เสียงจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทกิจการประเภทที่ 1 คือ การโฆษณาในกิจการที่ไม่เป็นไปในทำนองการค้า ขอใบอนุญาตได้คราวละไม่เกิน 15 วัน ค่าธรรมเนียม ฉบับละ10 บาท กิจการประเภทนี้ก็จะมี งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญบ้าน งานไหว้ครู งานมหรสพต่างๆกิจการประเภทที่ 2 คือ การโฆษณาที่เป็นไปในทำนองการค้า  แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือก. การโฆษณาเคลื่อนที่โดยใช้รถประชาสัมพันธ์วิ่งตามเส้นทางต่างๆ ภายในเขตเทศบาล สามารถขออนุญาตได้คราวละ ไม่เกิน 5 วัน ค่าธรรมเนียมโฆษณาเคลื่อนที่ ฉบับละ 60 บาทข. คือ การโฆษณาประจำที่โดยประชาสัมพันธ์ ณ ร้านหรือกิจการนั้น ๆ สามารถขออนุญาตได้คราวละ ไม่เกิน 15 วัน ค่าธรรมเนียม โฆษณาประจำที่ ฉบับละ 75 บาทห้ามอนุญาตและห้ามใช้เสียงโฆษณาในระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากบริเวณสถานที่ใดสถานที่หนึ่งดังต่อไปนี้ก. โรงพยาบาล
ข. วัด หรือสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจ และค. ทางแยกที่มีการสัญจรไปมาคับคั่งอยู่เป็นปกติ
ห้ามใช้เสียงโฆษณาในระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากบริเวณสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง  ดังต่อไปนี้ก. โรงเรียนระหว่างทำการสอน
ข. ศาลสถิตยุติธรรมในระหว่างเวลาพิจารณา
  การปฏิบัติภายหลังที่ได้รับอนุญาต
เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำการโฆษณาแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตนำใบอนุญาตนั้นไปแสดงต่อนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ดังต่อไปนี้
ก. โฆษณาประจำที่ ให้แสดงต่อสถานีตำรวจเจ้าของท้องที่นั้น เมื่อนายตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าในสถานีตำรวจนั้น หรือผู้รักษาการแทน ได้ลงนามรับทราบในใบอนุญาตนั้นแล้วจึงทำการโฆษณาได้
   ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง (แบบ ฆ.ษ.1)
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐาน
3. เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้มีอำนาจลงนามอนุญาตให้ทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง (แบบ  ฆ.ษ.2)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. ใบอนุญาตให้มีเพื่อใช้ซึ่งเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟน  (ถ้ามี)
3. รายละเอียดของเครื่องขยายเสียงที่จะใช้  เช่น  กำลังไฟฟ้าที่ใช้กำลังขยายเสียง
4. แผนที่แสดงที่ตั้งใช้เครื่องขยายเสียง


1 ความคิดเห็น: